[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
ค้นหา   
บุคลากร
นายสุรศักดิ์ ใจคำ
นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
0810358011
องค์ความรู้ในองค์กร
ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร

  พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร  
       ทางราชการ 
        

รูปภาพ
IMG_9158.JPG
 
IMG_9107.JPG
 
หน่วยตรวจสอบภายใน
แผนพัฒนาท้องถิ่น
งบประมาณรายจ่ายประจำปี
แผนยุทธศาสตร์หรือแผนพัฒนาหน่วยงาน
แผนดำเนินงานประจำปี
รายงานการกำกับติดตามการดำเนินงานประจำปี รอบ 6 เดือน
รายงานผลการดำเนินงานประจำปี
รายงานผลการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา
การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม
การบริหารเงินงบประมาณ
แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
►แผนการใช้จ่ายเงิน
รายงานกำกับติดตามการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีรอบ 6 เดือน
รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
แผนการจัดซื้อจัดจ้างหรือแผนการจัดหาพัสดุ
ความก้าวหน้าการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุ
ประกาศต่างๆ เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุ
►รายการการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุ
สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุรายเดือน
รายงานผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุประจำปี
แผนการจัดเก็บภาษี
ข้อมูลการปฏิบัติงาน
การให้บริการ
-คู่มือหรือแนวทางการให้บริการสำหรับผู้รับบริการฯ
-ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ
-รายงานผลสำรวจความพึงพอใจการให้บริการ
กฎหมายและระเบียบ
แผนปฎิบัติป้องกันการทุจริต
►แผนปฏิบัติป้องกันการทุจริต
นโยบายไม่รับของขวัญ(No Gift Policy)
การสร้างวัฒนธรรม (No Gift Policy)
►รายงานผลตามนโยบาย No Gift Policy
เจตจำนงสุจริตของผู้บริหาร 
สื่อรณรงค์ต่อต้านการทุจริต 
แนวทางการปฏิบัติกาจัดการเรื่องร้องเรียนการ ทุจริตและประพฤมิชอบ  
►ข้อมูลเชิงสถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ  
►มาตรการส่งเสริมคุณธรรม   และความโปร่งใสในหน่วยงาน  
รายงานผลการดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน 
การประเมินความเสี่ยงการทุจริตประจำปี
รายงานผลการดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริตฯ
รายงานกำกับติดตามการดำเนินการป้องกันการทุจริต ประจำปี รอบ 6 เดือน
►รายงานผลการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี 
รายงานการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด
เสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร
       การเสริมสร้าง      
    วัฒนธรรมองค์กร    
มาตราฐานทางจริยธรรม
►    ประมวลจริยธรรม     
► ประมวลจริยธรรมเจ้าหน้าที่ของรัฐ
► การขับเคลื่อนจริยธรรม
► การประเมินจริยธรรมเจ้าหน้าที่ของรัฐ
  
ข้อมูลพื้นฐาน  
 

ข้อมูลทั่วไป
1. สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่คะตวน
     1.1  ที่ตั้ง
      องค์การบริหารส่วนตำบลแม่คะตวน ตั้งอยู่ที่บ้านคอนผึ้ง หมู่ที่ 5 ตำบลแม่คะตวน อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน  อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอสบเมยทางด้านทิศเหนือ ระยะทาง 15 กิโลเมตรโดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 105
     1.2  อาณาเขต
            ทิศเหนือ        ติดกับ      เทศบาลตำบลเมืองยวมใต้ อำเภอแม่สะเรียง
            ทิศใต้            ติดกับ      องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สวด อำเภอสบเมย
             ทิศตะวันออก  ติดกับ      องค์การบริหารส่วนตำบลกองก๋อย อำเภอสบเมย
                                               องค์การบริหารส่วนตำบลแม่เหาะ อำเภอแม่สะเรียง   
            ทิศตะวันตก    ติดกับ     องค์การบริหารส่วนตำบลสบเมย อำเภอสบเมย
     1.3  ขนาด
     องค์การบริหารส่วนตำบลมีเนื้อที่ทั้งหมด  162 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 101,250  ไร่
     1.4  ลักษณะภูมิประเทศ
     ภูมิประเทศขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่คะตวน  ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและป่าไม้จะมีพื้นที่ที่ราบเพียงเล็กน้อย ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวแบ่งได้ ดังนี้
           1. พื้นที่ราบอยูบริเวณทิศตะวันตกของตำบลติดบริเวณริมน้ำยวมซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 14,175 ไร่  คิดเป็น 14% ของพื้นที่ทั้งหมด ได้แม่หมู่ที่ 1,2,3,5,7
           2. พื้นที่สูงหรือภูเขา  มีพื้นที่ประมาณ 87,075 ไร่  คิดเป็น 86 % ของพื้นที่ทั้งหมด ได้แก่ หมู่ที่ 4,6,8
     1.5  จำนวนหมู่บ้าน
     องค์การบริหารส่วนตำบลแม่คะตวน ประกอบด้วย 8 หมู่บ้าน ได้แก่
           หมู่ที่ 1  บ้านผาผ่า ประกอบด้วย 1 หย่อมบ้าน คือ บ้านดอยผาลาย,บ้านผาผ่า
           หมู่ที่ 2  บ้านไหม้
           หมู่ที่ 3  บ้านแม่เกาะ ประกอบด้วย 2 หย่อมบ้าน คือ บ้านแม่มูด,บ้านดงใหม่,บ้านแม่เกาะ
           หมู่ที่ 4  บ้านแม่ออกใต้  ประกอบด้วย 2 หย่อมบ้าน คือ บ้านแม่ออกลาน,บ้านแม่ออกใต้
           หมู่ที่ 5  บ้านคอนผึ้ง
           หมู่ที่ 6  บ้านแม่ออกกลาง ประกอบด้วย 5 หย่อมบ้าน  คือ บ้านแม่ออกใหม่,บ้านห้วยกองกุ๋น,บ้านทะเละ,
                       บ้านแม่ออกเหนือ,บ้านป่ากล้วย
           หมู่ที่ 7  บ้านแพะหลวง
           หมู่ที่ 8  บ้านอุมดาเหนือ ประกอบด้วย 2 หย่อมบ้าน  คือ บ้านอุมดาใต้,บ้านอุมดาเหนือ
     1.6  ประชากร
      ตำบลแม่คะตวน มีประชากรทั้งสิ้น  6,361  คน แบ่งเป็นชาย 3,142 คน หญิง 3,219 คน จำนวนครัวเรือนทั้งหมด  3,100  หลัง
      ตารางแสดงจำนวนประชากรในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลแม่คะตวน

หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน ชาย หญิง รวม จำนวน
หลังคาเรือน
จำนวน
1 บ้านผาผ่า 719 779 1,498 663
2 บ้านไหม้ 209 184 393 199
3 บ้านแม่เกาะ 320 329 649 316
4 บ้านแม่ออกใต้ 213 206 419 349
5 บ้านคอนผึ้ง 648 687 1,335 628
6 บ้านแม่ออกกลาง 362 345 707 395
7 บ้านแพะหลวง 207 243 450 198
8 บ้านอุมดาเหนือ 464 446 910 352
รวม   3,142 3,219 6,361 3,100

        หมายเหตุ  แหล่งข้อมูลจากสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง  ณ  เดือน มกราคม 2566

2. สภาพทางเศรษฐกิจ
     2.1 อาชีพ
     ประชากรส่วนใหญ่ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลแม่คะตวน ประกอบอาชีพเกษตรกรรมค้าขาย รับจ้าง และรับราชการ ตามลำดับ ลักษณะการเกษตรมีระบบชลประทานช่วยเหลือในหมู่บ้านพื้นราบ (หมู่ที่ 1,2,3,5,7) แต่ปริมาณน้ำไม่เพียงพอ ส่วนการเกษตรบนพื้นที่สูงอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก
     
2.2  หน่วยธุรกิจในเขต องค์การบริหารส่วนตำบล
     -  ปั้มน้ำมันหัวจ่าย   จำนวน  1  แห่ง
     -  ปั้มน้ำมันหลอด    จำนวน  4  แห่ง
     -  ร้านขายของชำ     จำนวน 54 แห่ง  ได้แก่
        หมู่ที่ 1  จำนวน  15  แห่ง
        หมู่ที่ 2  จำนวน   2  แห่ง
        หมู่ที่ 3  จำนวน   9  แห่ง
        หมู่ที่ 5  จำนวน 22  แห่ง
        หมู่ที่ 7  จำนวน   6  แห่ง
    -  โรงน้ำแข็ง   จำนวน  4  แห่ง  ได้แก่
        หมู่ที่ 1  จำนวน   2  แห่ง
        หมู่ที่ 5  จำนวน   1  แห่ง
        หมู่ที่ 7  จำนวน   1  แห่ง
    -  โรงงานอุตสาหกรรม (โรงงานบ่มยาสูบ)  จำนวน  1  แห่ง (หมู่ที่ 5)
    -  โรงสี   จำนวน  4  แห่ง   ได้แก่
        หมู่ที่ 1   จำนวน  2  แห่ง
        หมู่ที่ 5   จำนวน  1  แห่ง
        หมู่ที่ 8   จำนวน  1  แห่ง


3. สภาพทางสังคม
     เป็นสังคมในลักษณะอาศัยซึ่งกันและกัน  โดยมีผู้ใหญ่บ้าน กำนัน เป็นผู้นำในชุมชนและแบ่งเขตรับผิดชอบภายในหมู่บ้าน เป็นหมู่หรือหมวด ชาวบ้านอาศัยซึ่งกันและกันแบบญาติมิตรสร้างความอบอุ่น แบบคนในครอบครัว
     3.1 การศึกษา
        ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแม่คะตวน มีสถานศึกษา  ดังนี้
     -  โรงเรียนประถมศึกษา               7   แห่ง
     -  โรงเรียนมัธยมศึกษา                 1   แห่ง
     -  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก                  2   แห่ง
     -  ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน 5   แห่ง
    3.2   ศาสนา/วัฒนธรรม
     -  วัด/สำนักสงฆ์  5 แห่ง  ได้แก่    
         หมู่ที่ 1  วัด   2  แห่ง
         หมู่ที่ 2  วัด  1  แห่ง
         หมู่ที่ 3  วัด  1  แห่ง  สำนักสงฆ์  1  แห่ง
    3.3  สาธารณสุข
      -   โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล   1  แห่ง     
      -   หน่วยควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่  10.2.5  (สบเมย) 1  แห่ง
    3.4  ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
      -  มีหน่วยบริการชุมชน (ตู้ยาม) / สถานีตำรวจชุมชนตำบล   1   แห่ง   
    3.5  มวลชนจัดตั้ง 
     -  ลูกเสือชาวบ้าน    2  รุ่น     262   คน
     -  ไทยอาสาป้องกันชาติ   4  รุ่น   357   คน
     -  กองหนุนเพื่อความมั่นคง  3  รุ่น    141   คน
     -  อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน 2  รุ่น     84 คน
    3.6  สภาพด้านโครงสร้างพื้นฐาน
          1.  ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  105  เป็นถนนลาดยางสายหลัก จากอำเภอแม่สะเรียง  ผ่านหมู่ที่ 5, 7, 1, 2, 3  ถึงอำเภอสบเมย  ระยะทาง  ประมาณ 25  กม.ใช้เส้นทางตลอดปี ส่วนถนน ในหมู่บ้าน  หมู่ที่  1, 2, 3, 5, 7  จะเป็นถนนลาดยาง และถนนคอนกรีต  แต่ยังไม่ทั่วถึง
          2. ถนนสายบ้านแม่เกาะ – บ้านอุมดาเหนือ เป็นถนนดินเดิมและถนนคอนกรีต เสริมเหล็กเป็นช่วง ๆ ซึ่งเป็นถนน หมู่ที่ 4, 6, 8 ในช่วงฤดูฝนถนนจะได้รับความเสียหายจากน้ำป่าไหลหลากต้องซ่อมแซมเป็นประจำทุกปี ทำให้ระยะเวลาดังกล่าวสัญจรไปมาลำบาก


การโทรคมนาคม
  -  ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข    1   แห่ง  
  -  สถานีโทรคมนาคมอื่น ๆ     8   แห่ง

การไฟฟ้า
  -  หมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 5 หมู่บ้าน มีไฟฟ้าใช้ คือ หมู่ที่ 1, 2, 3, 5, 7 รวมทั้งสิ้น  1,693  ครัวเรือน  และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอแม่สะเรียง ดำเนินการติดตั้งไฟฟ้าระบบพลังงานแสงอาทิตย์  ให้แก่  หมู่ที่  4 , 6 , 8 จำนวน 886 หลังคาเรือน


แหล่งน้ำธรรมชาติ                                                     
    -  ลำน้ำ, ลำห้วย 7  สาย  ได้แก่    
        หมู่ที่ 1  จำนวน  2  สาย 
        หมู่ที่ 3  จำนวน  1  สาย
        หมู่ที่ 4   จำนวน  1  สาย  
        หมู่ที่ 5   จำนวน  1  สาย
        หมู่ที่ 6   จำนวน  1  สาย  
        หมู่ที่ 8   จำนวน  1  สาย
    -  บึง , หนองและอื่นๆ  2  แห่ง ได้แก่ หมู่ที่  5   หมู่ที่  7
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
    - ฝาย  (อ่างเก็บน้ำ ) 9 แห่ง  ได้แก่  (หมู่ที่ 1 หมู่ที่  2  หมู่ที่  3  หมู่ที่  5  หมู่ที่  7)
    - บ่อน้ำตื้น  52  แห่ง ได้แก่ (หมู่ที่ 1  จำนวน  14  บ่อ  หมู่ที่  2  จำนวน  8 บ่อ
      หมู่ที่ 3  จำนวน 3 บ่อ หมู่ที่ 5  จำนวน  22 บ่อ  หมู่ที่ 7  จำนวน  5  บ่อ)
    - บ่อโยก  22  แห่ง ได้แก่  (หมู่ที่ 1  จำนวน 5  แห่ง  หมู่ที่ 2  จำนวน  2  แห่ง    
      หมู่ ที่ 3  จำนวน  4  แห่ง หมู่ที่  5  จำนวน 9  แห่ง  หมู่ที่ 7 จำนวน  2   แห่ง)
    - อื่น ๆ ประปาหมู่บ้าน 14  แห่ง ได้แก่  หมู่ที่ 1  จำนวน  2  แห่ง  หมู่ที่ 2 
      จำนวน  2  แห่ง  ( ประปาของกรมอนามัย 1 แห่ง ) หมู่ที่ 3 จำนวน 2  แห่ง
       หมู่ที่  4  จำนวน  1  แห่ง หมู่ที่  5       จำนวน 2 แห่ง หมู่ที่ 6 จำนวน 1 แห่ง
       หมู่ที่  7 จำนวน 1 แห่ง หมู่ที่ 8 จำนวน 2 แห่ง โดยหมู่ที่  1, 5, 7  จะใช้ประปาของกรมอนามัยเป็นหลักร่วมกัน
    - ประปาขนาดใหญ่มากจำนวน 1 แห่ง อยู่หมู่ที่ 5 บริเวณรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่คะตวน โดยใช้ร่วมกันของ หมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 7

ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ 
   ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่  ได้แก่  ป่าไม้  เช่น  ไม้สัก, ไม้เต็ง, ไม้รัง, ไม้แดง,แหล่งหิน ทราย ตามลำน้ำแม่ยวม

จุดเด่นของพื้นที่  (ที่เอื้อต่อการพัฒนาตำบล )
  พื้นที่หมู่ที่ 1,2,3,5,7ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบ เหมาะสำหรับการประกอบอาชีพทางการเกษตรอีกทั้งเป็นแหล่งชุมชนสามารถพัฒนาให้เป็นตลาดกลางและร้านค้าจำหน่ายปัจจัยการผลิตของอำเภอได้
  พื้นที่หมู่ที่ 4,6,8 เป็นพื้นที่ภูเขาสูง มีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ ป่าเขาเขียวขจี เหมาะสำหรับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

สถานที่ท่องเที่ยวในตำบล
   -    พระธาตุผาผ่าอนุสรณ์สถานครูบาผาผ่า
   -    บ่อน้ำทิพย์    
   -    น้ำตกห้วยแม่ปานน้อย  
   -    ดอยปุย    
   -    พระธาตุคอนผึ้ง

 

 

แผนที่/ที่ตั้ง